เผยแพร่โดย ผู้ดูแลระบบ| 08 กรกฏาคม 2020
สุกรที่มีลักษณะพันธุกรรม Malignant Hyperthermia (MH) เมื่อถูก กระตุ้นให้เกิดความเครียด เช่นการขนย้าย การผสมพันธุ์ การต่อสู้ กันเอง จะทําให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เกิดอาการหอบ บางครั้งมี อาการช็อกตายอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากร่างกายไม่สามารถปรับ อุณหภูมิภายในให้ลดลงสู่ภาวะปกติได้ และพบว่าสุกรที่มีลักษณะ พันธุกรรมดังกล่าวจะมีเนื้อที่มีลักษณะ ซีด เหลว แฉะ ทําให้ซากมี คุณภาพต่ํา เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจในการผลิตสุกร
ลักษณะพันธุกรรม Malignant Hyperthermia (MH) เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนและสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม การตรวจสอบลักษณะพันธุกรรม MH สามารถทําได้โดยการให้สุกรอายุ 3-8 สัปดาห์ ดมก๊าซฮาโลเธน และสังเกตุอาการเกร็งตัวของ กล้ามเนื้อขาหลังทั้ง 2 ข้าง สุกรที่มีลักษณะพันธุกรรม MH จะมีการเกร็งขาหลังทั้งสองข้าง จัดเป็นกลุ่มฮาโลเธนบวก ส่วนสุกรปกติ หรือสุกรที่เป็นพาหะ ขาหลังจะอ่อนตัวเป็นปกติ จัดเป็นกลุ่มฮาโลเธนลบ จะเห็นได้ว่าการทดสอบโดยใช้ก๊าซฮาโลเธนไม่สามารถแยก สุกรปกติและสุกรพาหะออกจากกันได้ นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า อายุ เพศและพันธุ์ของสุกรมีผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการ ทดสอบในปัจจุบันได้มีการนําเครื่องหมายดีเอ็นเอมาใช้ในการตรวจสอบสุกร ซึ่งสามารถแยกสุกรปกติ สุกรที่เป็นพาหะและสุกรที่มี ลักษณะ MH ออกจากกันได้อย่างชัดเจน การตรวจสอบสามารถทําได้กับสุกรทุกขนาดอายุ โดยสามารถตรวจได้จากเซลล์รากขนหรือ เลือดของสุกร โดยไม่ทําให้สุกรเกิดอันตราย