การตรวจสอบการปนเปื้อนของดีเอ็นเอจำเพาะของหมู-วัว-ไก่

เผยแพร่โดย ผู้ดูแลระบบ| 08 กรกฏาคม 2020

โรควัวบ้าซึ่งเกิดจากตัว Prion Protein ที่มีลักษณะผิดปกติดังนั้นการตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ จากเนื้อวัวจะเป็นที่มาจากวัวบ้าหรือไม่นั้นจึงทำได้ยาก เพราะว่าตัว Prion Protein ก็มีอยู่แล้วในสัตว์และมนุษย์ แต่เป็นตัวโปรตีนที่มีโครงสร้างปกติ การที่จะทราบว่าผลิตภัณฑ์วัวนั้น มาจากวัวที่เป็นบ้าหรือไม่ จึงทำได้ลำบากและช้า ดังนั้นจึงมีกฎหมายในหลายประเทศห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนผสมของวัวจากประเทศที่มีการค้นพบว่ามีวัวบ้าอยู่

Example blog post alt.

ถ้าผลิตภัณฑ์ได้แปรรูปไปจนไม่สามารถจะบอกได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากเนื้อวัวหรือเนื้อสุกรหรือสัตว์อื่นๆแล้วก็จะทำให้กฎหมายการนำเข้ามีผลบังคับใช้ลำบาก ทางห้องปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยีจึงได้คิดค้นวิธีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ว่ามีส่วนผสมของวัวหรือไม่ โดยใช้ดีเอ็นเอเครื่องหมายที่เฉพาะเจาะจงกับวัวในการตรวจสอบที่นับว่าเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ใช้ผลทางวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์หลักฐานเพื่อบังคับใช้ในกฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นที่ยอมรับของประเทศในยุโรป

Example blog post alt.
รูปแบบตัวอย่างที่นำมาส่งทดสอบ

นอกจากการตรวจสอบหาการปนเปื้อนของดีเอ็นเอวัวเพื่อป้องกันการนำเข้าชิ้นส่วนของวัวแล้ว ยังมีการตรวจสอบดีเอ็นเอของหมู/ไก่ ในวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ทั่วไปเพื่อเป็นการรับรองการปนเปื้อนของดีเอ็นเอหมูในอาหารมุสลิม เป็นต้น โดยใช้วิธีการเดียวกันกับการตรวจสอบวัว เพียงแต่เปลี่ยนตัวตรวจสอบเป็นตัวที่มีความจำเพาะกับชนิดของสิ่งที่ต้องการตรวจสอบเท่านั้น

Example blog post alt.
ภาพวิธีการทำงานเบื้องต้น

ผลการตรวจสอบ
จากการใช้ดีเอ็นเอเครื่องหมายที่มีความจำเพาะต่อวัวในการตรวจสอบการปนเปื้อนของเนื้อวัวในวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ถ้าวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์นั้นมีการปนเปื้อนของเนื้อวัว จะปรากฏเส้นกราฟแสดงขึ้นดังตัวอย่างที่ 1 และ 2 แต่ถ้าไม่ปรากฎเส้นกราฟ แสดงว่าไม่มีการปนเปื้อนของเนื้อวัวในผลิตภัณฑ์นั้น
*ผลของการตรวจหาดีเอ็นเอของหมู/ไก่จะมีลักษณะเดียวกันกับการตรวจดีเอ็นเอของวัว